วิธีการทางประวัติศาสตร์
ความหมายและความสำคัญ
วิธีการทางประวัติศาสตร์ หมายถึง วิธีการที่ผู้ต้องการสืบค้นเรื่องราวในอดีตใช้ในการศึกษา
ค้นคว้า และเรียบเรียงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์
ที่สนใจได้ เช่น การหาความรู้เกี่ยวกับโรงเรียน วัด ชุมชน จังหวัด หรือภูมิภาคของตน ซึ่งเป็นเรื่องราว
ใกล้ตัวและเราสามารถหาหลักฐานได้จากแหล่งข้อมูลที่มีอยู่ในพื้นที่ เช่น วัด พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญ
ในท้องถิ่น เป็นต้น
การใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์
ถ้านักเรียนสนใจอยากทราบว่าภูมิภาคของตนมีประวัติความเป็นมาอย่างไร มีเรื่องราวใด
ที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตามขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้
ที่น่าสนใจน่ารู้บ้าง นักเรียนสามารถใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ศึกษาค้นคว้าได้ตามขั้นตอน 5 ขั้น ดังนี้
โครงกระดูกและเครื่องปั้นดินเผา พบที่แหล่งโบราณคดีบ้านเชียงอ.หนองหาน จ.อุดรธานี
เป็นขั้นตอนแรกของวิธีการศึกษาหาความรู้ โดยตั้งประเด็นคำถามเกี่ยวกับเรื่องที่จะศึกษา
ตัวอย่าง ประเด็นการศึกษาเกี่ยวกับภูมิภาคอาจเป็นเรื่องที่อยู่ใกล้ตัว และขยายขอบเขต
การศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น
ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค
การศึกษาออกไปเป็นระดับอำเภอ ระดับจังหวัด และระดับภูมิภาค เช่น
ประวัติวัดสำคัญในชุมชน / อำเภอ / จังหวัด / ภูมิภาค
สถานที่สำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค
บุคคลสำคัญในท้องถิ่น / จังหวัด / ภูมิภาค




2. ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
เมื่อมีประเด็นที่จะศึกษาแล้ว ขั้นต่อมาคือ การค้นคว้าและรวบรวมหลักฐานข้อมูล ทั้งที่เป็นหลักฐานชั้นต้นและหลักฐานชั้นรอง หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรและหลักฐานที่ไม่เป็น ลายลักษณ์อักษร

หลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร
ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่เป็นตัวหนังสือ
ตัวอย่างได้แก่ จารึก พงศาวดาร จดหมายเหตุ หนังสือพิมพ์ จดหมาย บันทึก
เอกสารทางราชการ เป็นต้น


สมุดข่อย พงศาวดารฉบับหลวงประเสรฐ หนังสือพิมพ์
หลักฐานที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ลักษณะ เป็นหลักฐานข้อมูลที่ไม่่เป็นตัวหนังสือ
ตัวอย่างได้แก่ เครื่องมือเครื่องใช้ของคนในสมัยต่าง ๆ วัด เจดีย์ อนุสาวรีย์ เครื่องประดับ
อาคารบ้านเรือน เครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

พระบรมราชานุสาวรีย์พระสุริโยทัย จ.พระนครศรีอยุธยา


ภาชนะดินเผาที่เขียนลายด้วยสีแดง จากแหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี
3. ตรวจสอบหลักฐาน
ขั้นตอนนี้คือ การตรวจสอบข้อมูลหลักฐานที่เรารวบรวมมาว่ามีความถูกต้องน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใด
วิธีการตรวจสอบหลักฐาน ได้แก่ เปรียบเทียบจากข้อมูลหลาย ๆ ฉบับว่าเหมือนหรือ
ต่างกันอย่างไร พิจารณาจากหลักฐานที่มีอยู่หรือว่าหลักฐานดังกล่าวผ่านการตรวจสอบความถูกต้อง
จากผู้เชี่ยวชาญมาแล้ว


ตัวอย่างหนังสือที่มีข้อมูลเกี่ยวกับความเป็นมาของจังหวัด
4. การเลือกและจัดลำดับข้อมูล
เมื่อรวบรวมและตรวจสอบความถูกต้องความน่าเชื่อถือแล้ว นักเรียนต้องนำข้อมูลมาแยกประเภท โดยเรียงเหตุการณ์ตามลำดับเวลาก่อนหลัง จัดเหตุการณ์เรื่องเดียวกันหรือเรื่องที่เกี่ยวข้องกันไว้ด้วยกัน
เพื่อความสะดวกในการเรียบเรียงและนำเสนอข้อมูล

5. การนำเสนอ
เป็นขั้นตอนสุดท้ายของวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยผู้ศึกษาต้องนำข้อมูลที่ผ่านการตรวจสอบ
และเลือกสรรแล้ว มาเรียบเรียงเพื่อตอบคำถามหรืออธิบายข้อสงสัยตามประเด็นที่ต้องการศึกษา
โดยใช้หลักฐานข้อมูลต่าง ๆ มาอ้างอิงอย่างเป็นเหตุเป็นผล
การนำเสนอมีหลายวิธี เช่น การเขียนเรียงความ รายงาน จัดนิทรรศการ เป็นต้น



การเขียนเรียงความ รายงาน



การจัดนิทรรศการ
อุทยานประวัติศาสตร์เมืองสิงห์ จ.กาญจนบุรี
หลักฐานชั้นต้น
ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เป็นของร่วมสมัยหรือเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์โดยตรง
ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
ตัวอย่างได้แก่ ข้อมูลจากการสอบถามผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ บันทึกของผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์
ภาพถ่าย วีดิโอเทป สิ่งของเครื่องใช้ สิ่งก่อสร้าง เป็นต้น

เสมาหินทราย บ้านโพธิ์ไชย จ.ขอนแก่น
วัดไชยวัฒนาราม จ.พระนครศรีอยุธยา
หลักฐานชั้นรอง
ลักษณะ เป็นหลักฐานและข้อมูลที่เขียนหรือรวบรวมไว้ภายหลังเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้น
โดยใช้ข้อมูลจากหลักฐานชั้นต้น
ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ
ตัวอย่างได้แก่ บทความทางวิชาการ หนังสือต่าง ๆ


หนังสือโลกประวัติศาสตร์
เป็นหนังสือที่ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น